1774 หลุยส์ ที่ 16 (Louis XVI) ขึ้นครองราชย์ ในช่วงที่ฝรั่งเศสประสบกับสภาวะวิกฤตทางการเงิน จากการทำสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War,1756-1763) กับอังกฤษ และการเข้าไปสนับสนุนสงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War, 1775-1783)
1776 4 กรกฏาคม, สหรัฐประกาศอิสระภาพจากสหราชอาณาจักร
Turgot รัฐมนตรีคลังถูกปลด
1777 ฌาค เนคเกอร์ (Jacques Necker) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังคนใหม่ (director-general of the finances) แม้ว่าเขาจะเป็นคนสวิส แต่สามารถรับตำแหน่งในฝรั่งเศสได้เพราะถือว่าเขานับถือโปเตสแตนท์
1781 เนคเกอร์ ตีพิมพ์ Compte rendu au roi ซึ่งสรุปฐานะการคลัง รายรับรายจ่าย ของรัฐบาลฝรั่งเศสอออกมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาชนได้รับทราบรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งรายงานเปิดเผยว่ารัฐบาลมีรายได้ 503 ล้านลีฟร์ (livers) และมีรายจ่าย 620 ล้านลีฟร์ และงบประมาณ 25% ถูกใช้ไปเพื่อการทหาร 19% เพื่อการบริหาร และ 6% สนับสนุนราชสำนัก
1783 8 มิถุนายน, รอยแตกลากิ (Laki volcanic fissure) ในไอร์แลนด์ เกิดระเบิด ปล่อยลาวา และเขม่าควันสู่ชั้นบรรยากาศนานกว่าแปดเดือน
2 พฤศจิกายน, หลุยส์ ที่ 16 แต่งตั้ง ชาร์ล โคโลนน์ (Charles Alexandre de Calonne) ให้เป็นรัฐมนตรีคลังคนใหม่
1787 22 กุมภาพันธ์, แผนการปฏิรูปการคลังของชาร์ล โคโลนน์ ที่ต้องการให้มีการเรียกเก็บภาษีจากพวกขุนนางและชนชั้นสูง ถูกปฏิเสธโดย สภาขุนนาง (Assembly of Notables) หลังจากนั้นชาร์ล โคโลนน์ ก็ถูกปลด และเนคเกอร์ ถูกเรียกให้กลับมารับตำแหน่ง
1788 Little Ice Age เกิดภาวะความแห้งแล้งในประเทศ เนื่องจากอากาศหนาว ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรล้มเหลว เป็นผลกระทบจากการปะทุของรอยแตกลากิ ทำให้ราคาอาหารในประเทศฟุ่งสูงขึ้นอย่างมาก
1789 5 พฤษภาคม, โดยการผลักดันของเนคเกอร์ , หลุยส์ ที่ 16 จึงได้เรียกประชุมสภาฐานันดร (Estates-General) ในพระราชวังแวร์ไซล์ สภาแห่งนี้ประกอบไปด้วยสามกลุ่ม คือ นักบวช (clergy-First Estate) , ชนชั้นสูง (Nobles-Second Estate) และสามัญชน (people-Third Estate) ประเด็นการประชุมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางการเงินของประเทศ แม้ว่าในที่ประชุมจะมีตัวแทนของสามัญชนมากที่สุด แต่กฏของการประชุมอนุญาติแต่ละกลุ่มออกเสียงได้กลุ่มละหนึ่งเสียง ไม่เกี่ยวกับขนาดของสมาชิกแต่ละกลุ่ม
First Estate มีตัวแทน 291 คน , Second Estate มี 300 คน และ Third Estate มีตัวแทน 610 คน , Third Estate แม้ว่าจะเป็นกลุ่มของคนทั่วไปแต่ว่ามีความหลากหลายในกลุ่มสูง มีทั้งเศรษฐีที่มีฐานะร่ำรวยมากกว่าพวกชนชั้นสูง มีนักคิด แรงงานและมีเกษตรกร การรวมตัวกันในตอนแรกจึงไม่ค่อยมีเอกภาพ
ก่อนที่จะมีการประชุมสภาแห่งชาตินี้ กลุ่ม Committee of Thirty ซึ่งเป็นกลุ่มชาวปารีสเสรีนิยม
(Emmanuel Joseph Sieyes, Abbe Sieyes) นักบวช แต่มีหัวคิดเสรีนิยม เขาถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของ Thrid Estate ได้ตีพิมพ์แผ่นพับชื่อ What is the Third Estate?
10 มิถุนายน, ซีเยสได้ประชุมร่วมกับ Third Estate
17 มิถุนายน, Third Estates ได้ประกาศตัวเองเป็นสมัชชาแห่งชาติ (National Assembly)ซึ่งเป็นประกาศตัวเป็นสภาของประชาชน
20 มิถุนายน, กลุ่ม Third Estates ได้กล่าวคำปฏิญานภายในสนามเทนนิส ( Tennis Court Oath) ในร่ม ในพระราชวังแวร์ซาย เรียกร้องรัฐธรรมนูญ
27 มิถุนายน, สมัชชาแห่งชาติ เปลี่ยนชื่อเป็นสภารัฐธรรมนูญแห่งชาติ (National Constituent Assembly) หลังจากหลุยส์ ที่ 16 ให้การรับรองว่าเป็นองค์กรที่ถูกต้อง
11 กรกฏาคม, เนคเกอร์ถูกปลดออกอีกครั้งหลังการประชุมสภาฐานันดรล้มเหลว แต่ว่าเขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในปารีส และสมัชชาแห่งชาติได้กุมอำนาจได้ปารีส
14 กรกฏาคม, กลุ่มผู้สนับสนุน Third Estates บุกคุกบาสติลล์ (Storming of the Bastille) เพื่อปล้นอาวุธและระเบิด ผู้ชุมนุมได้ฆ่าเบอร์นาร์ด ลัวเนย์ (Bernard-Rene de Launay) ผู้คุมบาสติลล์ และตัดศรีษะของเขาพร้อมกับผู้คุมคนอื่นอีกหลายคน มาเสียบไม้แล้วแห่ไปตามท้องถนน
ระหว่างที่บุกคุกบาสติลล์ ผู้ชุมนุมใช้ริบบิ้นสีแดงและน้ำเงินผูกติดไว้ที่หมวกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ สีน้ำเงินและแดงเป็นสีธงของปารีสมานาน สีขาวถูกเพิ่มเข้าไปในธงชาติของฝรั่งเศส เพื่อแสดงความเป็นชาติ
มาร์กุส ฟาเยตต์ (Marguis de la Fayette) เป็นชนชั้นสูง ที่เข้าข้างสมัชชาแห่งชาติและเป็นผู้ก่อตั้งกองกำลังแห่งชาติ (National Guard) ซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในปารีส และคอยอารักขาสมัชชาแห่งชาติ
20 กรกฏาคม, (Great Fear) เกษตรกรในต่างจังหวัดเร่ิมก่อจราจลต่อต้านเจ้าของที่ดิน
4 สิงหาคม, สมัชชาแห่งชาติออกกฏหมาย (August Decrees) ยกเลิกระบบฟิวดัล (feudalism)
26 สิงหาคม, สมัชชาแห่งชาติประกาศสิทธิพลเมืองและประชาชน (Declaration of the Rights of Man) โดยหลุยส์ ที่ 16 ถูกบังคับให้ตรากฏหมาย เพราะผู้ประท้วงที่เป็นสตรีบุกแวร์ซาย
5 ตุลาคม, กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงราว 7,000 คน เดินขบวนไปแวร์ซาย ประท้วงวิกฤติอาหาร (Food Crisis) การขาดแคลนขนมปัง และอาหารที่มีราคาแพงขึ้น , หลุยส์ ที่ 16 และสมาชิกราชวงศ์ถูกจับขังไว้ภายในพระราชวังทูลีร์ (Tuileries)
1790 กุมภาพันธ์ , สภารัฐธรรมนูญแห่งชาติประกาศยึดทรัพย์สินของศาสนจักรแคโธริก และใช้เป็นสินทรัพย์หนุนเงินสกุลใหม่แอสไซแนต (Assignat)
12 กรกฏาคม, (Civil Constitution of the Clergy) นักบวชถูกเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
24 ตุลาคม, สภารัฐธรรมนูญแห่งชาติรับรองธงสามสี (drapeau tricolore)
1791 20 มิถุนายน, หลุยส์ ที่ 16 และสมาชิกราชวงศ์หนีออกจากกรุงปารีสแต่ว่าถูกจับได้ใกล้กับพรหมแดนออสเตรีย
27 สิงหาคม, ออสเตรียและปรัสเซีย ประกาศคำประกาศพิลนิตซ์ (Declaration of Pillnitz) เรียกร้องให้มีการรับรองความปลอดภัยให้กับหลุยส์ ที่ 16 และคืนอำนาจให้พระองค์
14 กันยายน, หลุยส์ ที่ 16 รับรองรัฐธรรมนูญ ของสภารัฐธรรมนูญแห่งชาติซึ่งจำกัดอำนาจกษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐสภาของฝรั่งเศส (Legislative Assembly) ที่ตั้งขึ้นใหม่ แตกออกเป็นสองค่าย คือกลุ่มจาโคบิน (Jacobin) เป็นพวกฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง กับกลุ่มกิโลดิน (Girondin) ที่เป็นเสรีนิยม
ฌาค บริสซอต (Jacques-Pierre Brissot) เป็นหัวหน้ากลุ่มกิโลดิน ผู้สนับสนุน บริสซอตถูกเรียกว่าเป็น บริสซอติน (Brissotins)
กลุ่มซาน-ซูล๊อตต์ (San-culottes) ประกอบไปด้วย แรงงาน, เกษตรกร, และคนยากจน ที่นิยมการใช้กำลัง เป็นฝ่ายสนับสนุนจาโคบิน
1792 20 เมษายน, ฝรั่งเศสประกาศสงครามกับออสเตรีย แต่กองทัพฝรั่เศสที่อ่อนแอกับเป็นฝ่ายเสียเปรียบและโดนตอบโต้ Brissot จึงถูกหลุยที่ 16 ปลดจากการควบคุมกองทัพ
10 สิงหาคม, จาโคลินและซาน-ซูล๊อตต์บุกวังทูลีร์ ไม่พอใจในผลของสงคาม , จับ หลุยส์ ที่ 16
2 กันยายน พวกซาน-ซูล๊อตต์สังหารหมู่นักโทษในปารีส กว่า 1000 คน จากข่าวลือว่ามีคนพยายามต่อต้านการปฏิวัติของพวกเขา
22 กันยายน, ฝรั่งเศสประกาศตัวเองเป็นสาธารณรัฐ
1793 21 มกราคม, หลุยส์ ที่ 16 ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน
6 เมษายน, ประกาศตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงสาธารณะ (Committee of Public Safety) เพื่อทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและกำลังทหารที่รบกับออสเตรีย, ปรัสเซีย และคอยจำกัดพวกต่อต้านการปฏิวัติ
24 มิถุนายน, ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบัน 1793 (Constitution of 1793)
5 กันยายน, Reign of Terror เริ่มต้น ,
29 กันยายน, แม็กซิมิเลียน โรบปิแอร์ (Maximilien Robespierre, ผู้นำกลุ่มจาโคบิน ) ประกาศเพดานราคา
โรบปิแอร์ และจาโคบินปกครองด้วยความโหดเหี้ยมพวกเขาสังหารใครก็ตามโดยกล่าวหาคนนั้นว่าเป็นพวกต่อต้านการปฏิวัติ ภายในเวลา 9 เดือนในตำแหน่ง มีคนถูกสังหารไป 10,000-50,000 คน โดยใช้กิโยติน
15 ตุลาคม, มารี อังตัวเน็ต (Marie Antoinette) ถูกตัดสินประหารชีวิต
1794 เมษายน , จอร์จ แดนตัน (Georges Danton), ฌาค ฮีเบิร์ก (Jacques Hebert) สมาชิกของจาโคบิน และมีส่วนสำคัญช่วยให้จาโคบินมีอำนาจ แต่ว่าต่อต้านความโหดเหี้ยมของ โรบปิแอร์ ถูกประหาร
27 กรกฏาคม, ปฏิวัติเทอร์มิโดเรียน (Thermidorian coup) , โรบปิแอร์ถูกปฏิวัติ
1795 22 สิงหาคม, รัฐธรรมนูญ 1795 (Constitution 1795) ถูกประกาศใช้ โดยการปกครองแบบใหม่ ประกอบไปด้วย ผู้นำ 5 คนเป็นคณะกรรมการ (5 Directores) และสภาล่าง (Council of five Hundred, สภาห้าร้อย) มีผู้แทน 500 คน กับวุฒิสภา (Council of Elders) มีวุฒิสมาชิก 250 คน
1796 พฤษภาคม, ฟรานซิส เบบูฟ (François-Noël Babeuf) พยายามจะทำรัฐประหารแต่ถูกจับได้ก่อน
1799 9 พฤศจิกายน, นโปเลียน (Napoleon Bonaparte) ทำการปฏิวัติ (The Coup of 18 Brumaire) โดยความร่วมมือจากซีเยส ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าไดเร็กเตอร์