ยูริ วาสิลเยวิช คอนดราตยุก (Юрий Васильевич Кондратюк , Yuri Kondratyuk)
ชื่อจริง , อเล็กซานเดอร์ ชาร์เกย์ (Алекса́ндр Игна́тьевич Шарге́й , Alexander Ignatievich Shargey)
ยูริ คอนดราตยุก เกิดในโปลตาว่า (Poltava, Russia Empire, ยูเครน ปัจจุบัน) วันที่ 21 มิถุนายน 1897 (9 มิถุนายน O.S.) ในครอบครัวชาวรัสเซีย-เยอรมัน เชื้อสายยิว พ่อของเขาชื่อว่า อิกกาเนียส ชาร์เกย์ (Ignatius Benediktovich Shargey) และแม่ชื่อ ลุดมิล่า (Ludmila Lvovna Shilippenbach)
1896 อิกกาเนียส ระหว่างเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคียฟ ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากับลุดมิล่า
1897 ลุดมิล่าตั้งท้องยูริ แต่ระหว่างนั้นมีการประท้วงในเคียฟ และลุดมิล่าได้ร่วมในการประท้วงด้วย เธอถูกจับซึ่งสภาพความเป็นอยู่ในคุกทำให้เธอเกิดความเคลียด และมีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเธอไม่เคยหายจากโรคนี้
1909 อิกกาเนียส แต่งงานกับ เฮเลน่า (Helena Petrovna Giberman)
1910 14 มีนาคม, เฮเลน่า ให้กำเนิด นิน่า (Nina Ignatievna Shargey) น้องสาวต่างมารดาของยูริ
อิกกาเนียส เสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน หลังเดินทางกลับมาอยู่โปลตาว่าได้ไม่นาน ส่วนลุดมิล่าเสียชีวิตไปก่อนอิกกาเนียสเนื่องจากปัญหาทางจิต
ยูริ เข้าเรียนที่โปลตาว่ายิมเนเซียม (Poltava gymnasium)
1916 ยูริจบจากโปลตาว่ายิมเนเซียม โดยได้รับเหรียญเงิน หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อสาขาเครื่องกลที่มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg State Polytechnical University) แต่ว่าช่วงปลายปีเขาถูกเรียกเข้าเป็นทหารเกณฑ์ จึงได้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg cadets school)
ช่วงเวลานี้เขาเริ่มสนใจเกี่ยวกับอวกาศ และเริ่มเขียน To those who will read to build ซึ่งหนังสือได้แนะนำ ให้สร้างจรวดแบบ 4 ท่อน(4 stage rocket) และใช้เชื้อเพลิงแบบอ๊อกซิเจนเหลว ปฏิเสธความคิดของไซคอฟสกี (Konstantin Tsiokovsky) เดิมที่แนะนำให้ใช้จรวดสองท่อน , ออกแบบไจโรสโคป (floating gyroscopes) และเครื่องยนต์เอาไว้ด้วย
นอกจากนั้นยังเสนอให้ใช้แรงเหวียงของแรงดึงดูด ในการประหยัดเชื้อเพลิงในการเดินทางระหว่างดวงดาว และแนะนำให้ใช้แสงอาทิตย์ในการผลิตเชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศ
1918 ได้ร่วมในการรบในสมรภูมิด้านที่ติดกับตุรกี ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ช่วงสงครามกลางเมืองในรัสเซีย หลังการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ยูริ สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพขาว (White Army) ก่อนที่ต่อมาจะลาออกและไปสมัครเป็นทหารในกองทัพประชาชนยูเครน (Ukrainian People’s Army)
แต่หลังจากกรุงเคียฟตกอยู่ใต้กองทัพของกองทัพแดงแล้ว ยูริถูกจับตัวได้ระหว่างที่พยายามจะหลบหนีไปต่างประเทศ และเพื่อไม่ให้ถูกทางการโซเวียตลงโทษ ยูริ ได้ความช่วยเหลือจากเฮเลน่าแม่เลี้ยง ในการหาเอกสารปลอม ซึ่งยูริ ได้เปลี่ยนชื่อจากอเล็กซานเดอร์ ซาร์เกย์ มาเป็น ยูริ คอนดราตยุก (Yuri Vasilievich Kondratyuk) ซึ่งเจ้าของเอกสารตัวจริงเสียชีวิตในปี 1921 ด้วยวัณโรคไปแล้ว
1927 หนีไปอยู่ในไซบีเรีย และได้ทำงานในโรงงานผลิตทำเครื่องจักรครีลอฟสกี (Krylovsky elevator) ในเมืองโนโวซิเบิร์ก( Novosibirsk)ซึ่งที่นี้เขาได้สร้างเครื่องลำเลียงข้าว (grain elevator) ขนาดใหญ่ สำหรับขนข้าวจากตู้รถไฟเข้าไปเก็บในไซโล ซึ่งมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่ามาสโตดอน (Mastodon) ซึ่งมีน้ำหนักกว่า 13,000 ตัน และก่อสร้างโดยไม่ต้องใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว เพราะการขาดแคลนเหล็กในช่วงนั้น
1929 The Conquest of Interplanetary Space พิมพ์ออกในโนโวซิเบิร์ก ซึ่งเขาเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างจรวด เช่น การใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของโลหะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับดัน
1930 30 กรกฏาคม ถูกจับตัวได้
1931 10 พฤษภาคม ถูกตัดสินให้ต้องใช้แรงงานหนักในค่ายกักกันเป็นเวลาสามปี แต่ว่าเพราะทางการเห็นว่าเขามีพรสวรรค์จึงได้ส่งไปทำงานในปฏิบัติการหมายเลข 14 (Sharashka No.14 ) ซึ่งเป็นที่สำหรับนักโทษที่มีความรู้ ได้ทำงานระหว่างอยู่ในค่าย
1933 ได้รับการปล่อยตัวออกมาโดยถูกพากทัณฑ์ไว้ เขาไปทำงานที่สถาบันพลังงานในคาคอฟ (Institute of Industrial Energetics , Kharkov) ช่วงนี้ยูริหันไปออกให้ความสนใจในการออกแบบกังหันลม ยูริร่วมกับกอร์ชากอฟ (P.K. Gorchakov) ออกแบบของกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีความสูง 150 เมตร และสามารถสร้างพลังงานได้ 12,000 kW กังหันลมนี้มีแผนจะก่อสร้างบนยอดเขาไอเปตริ (Ai-Petri mountain) แต่ว่า ออดโซนิกิเซ (G.K. Ordzhonikidze) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมในตอนนั้นมาเสียชีวิตกระทันหัน ทำให้โครงการระงับไป
1941 มิถุนายน ได้สมัครเข้าเป็นทหาร เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้ไปอยู่กับหน่วยทหารราบที่ 62 (62nd infantry regiment, Kiev district, Moscow)
1942 ยุริ คอนดราตยุก หายตัวไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ระหว่างการรบกับเยอรมันในกาลุก้า (Krivtsovo, Kaluga region) ตะวันตกเฉียงใต้ของมอสโคว์
ทุกวันนี้มีหลุมบนดวงจันทร์หลุมหนึ่ง อุทิศให้เป็นเกียรติแก่เขาช่ือ Koondratyuk crator
เส้นทางแรกที่นักบินอวกาศเดินทางจากโลกไปยังดวงจันทร์และเดินทางกลับมา (earth-moon trajectory) ถูกตั้งชื่อว่าเป็น Kondratyuk’s route
- Тем, кто будет читать, чтобы строить (To those who will read to build ,1919)
- Завоевание межпланетных пространств (The Conquest of Interplanetary space ,1929)