![](https://i0.wp.com/66.media.tumblr.com/tumblr_lwvm89BUFU1qdynqb.jpg?w=760&ssl=1)
อเล็กซานเดอร์ ลโววิช ปาร์วุส (Александр Львович Парвус, Alexander Lvovich Parvus )
สายลับเยอรมัน ผู้สนับสนุนการปฏิวัติรัสเซีย และพัฒนาแนวคิดมาร์ซ
ชื่อจริงของเขาคือ อิสราเอล เกลแฟนด์ (Израиль Лазаревич Гельфанд, Israel Lazarevich Gelfand) แต่ถูกจำในได้ชื่อสมมุติมากกว่า เขามีเชื้อสายยิว เกิดในวันที่ 8 กันยายน 1867 (ปฏิทินเก่า 27 สิงหาคม) ในเมืองเบราซิโน่ (Berazino) อยู่ในเบลารุสปัจจุบัน ครอบครัวเขาเป็นช่างซ่อมแซมบ้าน ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมายังเมืองโอเดสสา (Odessa) ซึ่งเขาเข้าเรียนจนจบมัธยมที่เมืองนี้ ซึ่งมีโอกาสได้ซึมซับบรรยากาศแห่งความวุ่นวาย และกระแสการปฏิวัติ
1885 เดินทางไปยังสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเรียนหนังสือ
1887 เข้าเรียนจากมหาวิทยาลัยเบเซิล (University of Basel)
1891 จบปริญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งตอนนั้นเขากลายเป็นผู้นิยมลัทธิมาร์ซ อย่างเปิดเผยแล้ว หลังจากเรียนจบแล้วเขาก็เดินทางกลับประเทศเยอรมัน และได้ร่วมกับพรรคสังคมประชาธิปไตย ( Social Democratic Party , SPD) ของโรซ่า ลักเซมเบิร์ก (Roxa Luxemburg)
1893 เขาเขียนบทความลงใน Die Neue Zeit (The New Times) ซึ่งเป็นแม็กกาซีนของพรรค SPD โดยใช้นามปากกาว่า “Parvus” นอกจากนั้นยังมีผลงานเขียนพิมพ์ลงในหนังสือ Vorwärts (Forward) ด้วย ซึ่งเขาได้เขียนทฤษฏีเกี่ยวกับสังคมนิยม แรงงานออกมามากมายลงใน The New Times นี้ จนเกลแฟนด์เองได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำทฤษฏีสังคมนิยมของของพรรค SPD เลย
1895 ได้รับเกียรติให้ขึ้นปราศรัยในที่ประชุมสภาของพวกสังคมนิยมในเยอรมัน แม้ว่าตัวเขาเองนั้นไม่ได้เป็นสมาชิก , ตอนอยู่ในเยอรมันนี้ เขาต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เนื่องจากถูกขับไล่จากเจ้าหน้าที่ โดยข้อหา “undesirable alien” เป็นชาวต่างชาติที่ไม่พึงปรารถนา โดยเคยถูกไล่ออกจากเมืองปรัสเซีย และแซคโซนี ซึ่งเขาไปทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ของพรรค
1896 ในการประชุมสภานานาชาติของผู้นิยมสังคมนิยม (International Socialist Congress) ที่จัดขึ้นในลอนดอน ในเดือนกรกฏาค เกลแฟนด์ เป็นหนึ่งในผู้แทนจากฝ่ายรัสเซียที่ร่วมการประชุมครั้งนี้ … นอกจากนี้ในปีนี้ยังปรากฏว่าเขาใช้หลักฐานปลอมในการเดินทางเข้ารัสเซียด้วย เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอดอยากเพราะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในเวลานั้นเพื่อมาเขียนหนังสือ
1897 เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ Saxon worker’s newspaper (Sächsische Arbeiter Zeitung)
ปีนี้เขามีผลงานเขียนที่สำคัญ ชื่อ World Market and The Agricultural Crisis (Мировой рынок и сельскохозяйственный кризис) เขียนเป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งในปี 1899 เลนิน ได้นำไปแปลเป็นภาษารัสเซีย และพิมพ์ลงในแม็กกาซีน Nachalo (Начало)
1900 อพาร์ตเมนต์ของเกลแฟนด์ ในมิวนิค นั้นมักถูกใช้เป็นสถานที่พบปะกันของพวกมาร์ซิส ทั้งแขกเยอรมันและรัสเซียต่างมาเยือนเป็นประจำ ซึ่งเลนินและทร็อตสกี ก็มาใช้ห้องสมุดของเขาในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เกลแฟนด์ นั้นช่วยกระตุ้นให้เลนิน พิมพ์ผลงานของเขาลงในหนังสือพิมพ์ Iskra ของพรรค RSDLP ซึ่งต่อมาทุกคนต่างก็ร่วมกันเขียนบทความลงในหนังสือพมิพ์นี้
1903 เมื่อเกิดการแตกแยกของพรรค RSDLP ในรัสเซียออกเป็นสองฝ่าย ของบอลเชวิค และเมนเชวิค นั้น เกลแฟนด์ให้การสนับสนุนฝ่ายของเมนเชวิค แต่ว่าในปีต่อมาเขาก็หันไปสนิทกับทร็อตสกีแทน เพราะว่าตอนนั้นทั้งคู่กำลังสนใจในทฤษฏี Permanent Revolution ซึ่งทฤษฏีนี้ถูกริเริ่มโดยมาร์ซ และเอนเกิ้ล แต่ว่าเลนิน ทร็อตสกี รวมถึง เกลแฟนด์ ก็ได้เครดิตในฐานะผู้สร้างและพัฒนาด้วย แต่เกลแฟนด์ก็ยังพยายามที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายนั้นก็มาร่วมมือกัน เพราะว่าการแตกแยกของพรรคมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของแรงงานที่ต้องการการปฏิวัติ
ช่วงที่เกิดสงครามระหว่างรัสเซีย และญี่ปุ่น นั้น เกลแฟนด์ ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง War and Revolution(Война и революция) ของเขาอย่างต่อเนื่องลงใน Iskra ซึ่งเกลแฟนด์นั้นทำนายเอาไว้ล่วงหน้าว่ารัสเซียจะแพ้สงครามครั้งนี้และจะเกิดความวุ่นวายและการปฏิวัติตามมา ซึ่งเมื่อผลออกมาเป็นตาที่เขาคาดเอาไว้ ทำให้เขาได้รับการยอมรับมากในแวดวงเพื่อนๆ
เกลแฟนด์ นั้นพยายามที่จะขอสัญชาติเยอรมันหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในขณะเดียวกันก็เคยขออพยพไปยังสหรัฐอเมริกาตามทร็อตสกี แต่ก็ไม่ได้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ทางการนั้นเห็นว่าผลงานของเขานั้นจัดว่าเป็นเครือข่ายของพวกที่ต้องการปฏิวัติ
1905 ตุลาคม เขาเดินทางไปยังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมของออสเตรียฮังการี เขาเขียนบทความวิจารณ์เศรษฐกิจรัสเซียในขณะนั้นว่าอยู่ในสถานะที่ใกล้จะพังทลายเต็มที และกล่าวหารัฐบาลว่ามีการคอร์รัปชั่น ในชื่อ The Financial Manifesto(Финансового манифеста) ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ได้พังลงจริงอย่างที่เขาอ้าง แต่บทความถูกใช้ในการกระพือให้เกิดการต่อต้านการบริหารของรัฐบาลขณะนั้นของนายกรัฐมนตรีวิตตี (Sergei Witte)
เกลแฟนต์ ร่วมกับทร็อตสกี ก่อตั้ง St.Peterburg Soviet of Workers’ Delgates (Петербургского совета рабочих депутатов) หรือ โซเวียตแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งเหมือนกับองค์กรที่ควบบริหารกิจกรรมประท้วงของแรงงาน หนังสือของทร็อตสกี อ้างว่า มีการประชุมกันครั้งแรกของโซเวียตนี้ ในคืนวันที่ 13 ตุลาคม ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (Technological Institute) มีผู้ร่วมประชุมไม่เกิน 40 คน
พวกเขาใช้หนังสือพิมพ์ ชื่อ Kopek (газету-копейку, Gazeta-Kopeika) ในการเผยแพร่อุดมการณ์ของพวกเขา ซึ่งมันได้รับความนิยมสูงมากในเวลาสั้นจากที่เคยพิมพ์ 3 หมื่นฉบับ ต้องเพิ่มเป็น 5 แสนฉบับ มากกว่าหนังสือพิมพ์ New Life ของบอลเชวิค เสียอีก แต่ว่าด้วยปัญหาด้านเทคนิคการพิมพ์ในตอนนั้น ทำให้พวกเขาต้องหยุดทำหนังสือพิมพ์นี้ และไปบริหารหนังสือ Nachalo แทน
3 ธันวาคม เกลแฟนด์ ถูกจับ และได้มีการตัดสินในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1906 ให้เนรเทศไปยังไซบีเรีย เขตตุรักคานส์ก (Turukhansk) เป็นเวลา 3 ปี แต่ว่าเขาสามารถหลบหนีมาได้ระหว่างที่กำลังถูกส่งตัวไป เขาหนีกลับมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ก่อนที่จะกลับไปยังเยอรมัน
เมื่ออยู่ในเยอรมัน เขาได้ร่วมทำละครเวที เรื่อง The Lower Dehths ร่วมกับ กอร์กี (Maxim Gorky) , โรซ่า ลักเซมเบิร์ก และสมาชิกพรรค RSDLP คนอื่นๆ มันถูกจัดฉายในโรงภาพยนต์ของเยอรมันหลายแห่ง ซึ่งรายได้ถูกแบ่งให้กับแต่ละคน โดยกอร์กีได้รับเงินตอบแทน 25% ในขณะที่เกลแฟนด์ นั้นเขาถูกตั้งข้อหาจากกอร์กีว่ายักยอกเงินรายได้จำนวน 1.3 แสนมาร์คไป กอร์กีขู่จะฟ้องเกลแฟนด์ในศาล แต่ว่าโรซ่า ได้ขอให้เรื่องนี้พูดคุยกันเป็นการภายในพรรค ต่อมาเกลแฟนด์ได้ยอมจ่ายเงินคืนให้กับกอร์กี แต่ว่าก็ทำให้ศรัทธาต่อตัวเขาพังลง และทำให้เขากดดันจนต้องเดินทางออกจากเยอรมัน
เขาเดินทางไปยังเวียนน่า ก่อนที่ต่อมาเกลแฟนด์ ได้เดินทางไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ล ตุรกี ในช่วงต้นปี 1908 และได้เข้าร่วมกับกลุ่มยังเติร์ก (Young Turks) ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่ในตุรกีนานกว่า 5 ปี โดยตั้งบริษัทค้าอาวุธ ซึ่งทำกำไรให้เขาได้อย่างงามในช่วงนี้ที่มีสงครามบอลข่าน (Balkan War) ซึ่งเขาให้เงินจำนวนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มยังเติร์ก และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทรีฟาชาส์ (Three Pashas) คือ ตาแลด ฟาซาส์ (Muhemed Talaat Pasha) รมต.มหาดไทย, อิสมาอิล เอ้นเวอร์ (Ismail Enver Pasha) รมต.กิจการสงคราม และ รมต.กองทัพเรือ อาเมต ดเจเมล (Ahmed Djemal Pasha) ซึ่งกลุ่มยังเติร์กก่อการปฏิวัติในตุรกีในปี 1908 และยังฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอาร์เมเนียนับล้านคน ระหว่าง 1915-1923
1912 ทำหนังสือพิมพ์ Turk Yurdu ออกมา โดยที่เขาเป็นบรรณาธิการ , ในขณะที่บริษัทของเขายังคงจัดการอาหารและอาวุธให้กับกองทัพตุรกีในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 โดยบริษัทของเขาติดต่อใกล้ชิดกับ บริษัท Vickers Limited จากอังกฤษ ซึ่งทำให้มีข้อสงสัยว่าเกลแฟนด์ อาจจะทำงานเป็นสายลับให้กับอังกฤษด้วย
เกลแฟนด์ นั้นยังใกล้ชิดกับทูตเยอรมันประจำตุรกี แฮน เฟรยเฮอร์ (Han Freiherr von Wangenheim) โดยเกลแฟนด์นั้นส่งแผนของเขาในการบั่นทอนรัสเซีย ผ่านทางทูตคนนี้ ให้กับเจ้าหน้าที่เยอรมัน เพื่อสนับสนุนการจัดการประท้วงในรัสเซียหลายครั้ง เพื่อให้รัฐบาลรัสเซียอ่อนแอลง
1915 แฮน เฟรยเฮอร์ ช่วยจัดการเรื่องการเดินทางให้กับเกลแฟนด์ ในการไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่ออธิบายแผนการของเขาในการสร้างการปฏิวัติในรัสเวียขึ้นมา โดยแผนการของเขา รู้จักกันในชื่อ Memorandum to Dr. Gelfand (Меморандум д-ра Гельфанда) ซึ่งเขาอธิบายสถานะการณ์ในรัสเซียว่า เมื่อเมนเชวิคและบอลเชวิคแตกออกจากกัน บอลเชวิคนั้นมีโอกาสมากที่จะเป็นฝ่ายริเร่ิมปฏิบัติการณ์ พร้อมลงมือปฏิบัติที่สุด แต่ถ้าขาดการสนับสนุนจากทุกๆ กลุ่มที่สนับสนุนสังคมนิยมแล้ว โอกาสที่บอลเชวิคจะประสบความสำเร็จก็หามีไม่ ดังนั้นรัฐบาลเยอรมันควรเข้าไปสนับสนุน , เกลแฟนด์มาถึงอย่างเบอร์ลิน ในวันที่ 6 มีนาคม โดยเยอรมันและเกลแฟนด์ ให้การสนับสนุนบอลเชวิค และยังให้เงินทุนสนับสนุนกลุ่มชาติพันธ์ อีกหลายกลุ่มในรัสเซียให้พยายามแยกตัวออกจากรัสเซีย ในเดือนพฤษภาคม เขาได้มีโอกาสพบกับเลนิน อีกครั้งในกรุงเบิร์น ซึ่งก็มีคนตั้งข้อสงสัยว่าเกลแฟนด์อาจจะให้เงินทุนสนับสนุนแก่เลนินด้วย ตั้งแต่ที่เขาอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ แต่เลนินก็ปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยเลนินนั้นระมัดระวังในการปรากฏตัวข้างเกลแฟนด์ในที่สาธารณะเสมอ แม่ว่าในรัสเซีย มีกลุ่มหัวรุนแรงมากมายเช่นเลนิน ที่ขอรับเงินจากเยอรมัน, และนี่อาจจะเป็นครั้งสุดท้าย ถ้าไม่รวมข่าวที่ว่าเขาพบกันอีกในปี 1917 ตอนที่เลนินมายังสต็อกโฮม
มีนาคม เลนินเดินทางกลับไปยังรัสเซีย ด้วยขบวนรถไฟพิเศษ (Sealed Train) ที่หน่วยงานสายลับเยอรมันจัดไว้ให้ พร้อมคณะของเลนินอีก 30 คน
หลังการปฏิวัติในรัสเซียแล้ว เกลแฟนด์พยายามที่จะติดต่อกับเลนิน ทร็อตสกี และพรรคบอลเชวิค แต่จะถูกปฏิเสธเสมอ รวมถึงไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ารัสเซียด้วย ชีวิตหลังจากนี้จึงแทบเหมือนถอนตัวออกจากการเมือง
เขามีภรรยาชื่อ ทาเทียน่า เกอร์เชฟน่า (Татьяна (Тауба) Наумовна-Гершевна, Tatiana Naumovna-Gershevna(1868-1917)) ทั้งคู่หย่ากันในปี 1902 และมีลูกชายชื่อ เยฟกินี เกเนดิน (Евгений Александрович Гнедин,Evgeny Gnedin (1897-1983)) เยฟกีนี เกิดในเดรสเดน ก่อนที่ทาเทียน่าจะพาตัวกลับมายังรัสเซีย ต่อมาได้เป็นทำงานเป็นทูตโซเวียตในเบอร์ลิน ก่อนที่จะถูกสอบสวนใน Moscow Trial show และถูกจับขังคุกเป็นเวลากว่า 10 ปี 1939-1955 หลังจากนั้นก็ทำงานส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและงานเขียน จนเสียชีวิตในปี 1983
ลูกชายอีกหนึ่งของเกนแฟนด์ทำงานในสถานทูตโซเวียตในอิตาลี ก่อนที่จะหายตัวไปอย่างไร้ร่องลอย
1924 เกลแฟนด์ เสียชีวิตในกรุงเบอร์ลิน 12 ธันวาคม 1924 โดยที่เอกสารเกี่ยวกับตัวเขาหายไปรวมทั้งเงินในบัญชีด้วย
ผลงาน
• Coup and political mass strike (1895)
• The unions and social democratic workers’ newspaper publishing the Saxon, Dresden (1896)
• Where does the political victimization of social democracy? Publisher of Saxon workers’ newspaper, Dresden (1897)
• Marine claims, colonial policy and workers’ interests. Publishing the Saxon workers’ newspaper, Dresden (1898)
• Dr. C. Lehmann, Parvus: The starving Russia. Travel impressions, observations and investigations. Dietz, Stuttgart (1900)
• The commercial crisis and the trade unions. Munich (1901)
• The colonial policies and the collapse of the capitalist system. Publishing the Leipsic printers-Aktiengesellschaft, Leipzig, (1907)
• In the Russian Bastille during the Revolution. Impressions, moods and reflections from Parvus. Kaden & Comp., Dresden (1907)
• The great lockout and the future of workers’ struggles in the kingdom. Kaden Dresden (1907)
• The class struggle of the proletariat Berlin (1908-1910) แบ่งออกมาเป็นเล่มย่อยๆ ในชื่อ
• First The trade union struggle.
• Second The capitalist mode of production and the proletariat (1908).
• Third Social democracy and parliamentarism (1909).
• 4th Socialism and the Social Revolution (1909).
• 5th The workers and entrepreneurship (1910).
• 6th The idea of the struggle against socialism (1910)
• Banks, government and industry Kaden, Socialist disputes, No. 2, Dresden 1910
• The state, industry and socialism. Kaden Dresden in 1910
• In the battle for Truth (1918)
• The social balance of the war, publisher of social science, Berlin (1918)
• The working-class socialism and world revolution. Letters to the German workers. Publishing for Social Science, Berlin (1918/19)
• I. The economic overthrow of capitalism. II, socialism and Bolshevism (1918)
• III. The development of the socialist economic system (1918)
• Fourth Letter. The Peace and Socialism (1919)
• Social Science Library. Publishing for Social Science, Berlin
• Volume 10: The State, Industry and Socialism (1919)
• Volume 11: The nationalization of banks and socialism. (1919).
• Construction and reparation. Publishing for Social Science, Berlin (1921)
• The economic rescue publisher of social science, Berlin (1921)