ชานไห่จิง (山海经, Shan-hai jing) หรือ ตำราภูเขาและทะเล (The book of Mountains and Seas) หนังสือโบราณอายุหลายพันปีของจีน เล่าถึงต้นไม้แห่งชีวิต (tree of life) ว่าขึ้นอยู่ทางตะวันออกอันไกลโพ้นของแผ่นดินจีน ต้นไม้แห่งชีวิตนี้มีชื่อเรียกว่า ฟูซาง (Fusang)
ต้นฟูซางเป้นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ ขึ้นอยู่บนเกาะทางตะวันออกซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพระอาทิตย์ขึ้น โดยบนต้นฟูชางมีนกอาศัยอยู่สิบตัว บางเล่าว่าเป็นนกสีทอง, บ้างว่าเป็นนกสีดำ แต่ว่าในเวลาเช้าของแต่ละวัน นกแต่ละตัวจะผลัดกันทำหน้าที่หอบเอาดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก จนกระทั้่งไปถึงต้นรัวมู่ (Ruomu, 若木) ซึ่งเป็นต้นไม้คู่กันกับฟูชางแต่ขึ้นอยู่ทางตะวันตก
ฟูชางจึงกลายเป็นชื่อเรียกดินแดนศักดิ์สิทธิ ลึกลับในตำนานของจีนไปด้วย บันทึกของจีนเล่าเอาไว้ว่า ในปี 219 BC จักรพรรดิฉินชีฮ่องเต้ (emperor Shi Huang) ได้ส่งกองทัพจำนวนกว่า 3,000 นาย ไปยังดินแดนโพ้นทะเลทางตะวันออกของจีน ดินแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า ฟูซาง ตามชื่อของต้นไม้ในตำนาน เพื่อตามหาน้ำอมฤทธิ์ ที่จะทำให้มีชีวิตเป็นอมตะ
ฮู ฟุ (Xu Fu) ซึ่งเป็นโหรหลวงในราชสำนัก ได้รับหน้าที่ในการนำกองทัพออกเดินทางเพื่อตามหาน้ำอมฤทธิ์ แต่ว่าไม่สำเร็จ
210 BC เมื่อฮูฟูเดินทางกลับมาเขาอ้างว่าเป็นเพราะสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่กลางทะเลปรากฏตัวขึ้นมาขัดขวางไม่ให้คณะของเขาเดินทางไปเอาน้ำอมฤทธิ์มาได้
จักรพรรดิจึงได้สั่งให้คณะของฮูฟู เดินทางไปยังฟูซางอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ให้ทำเอาพลธนูไปด้วยเพื่อจำกัดสัตว์ประหลาดตัวนั้น แต่ว่าหลังการเดินทางครั้งที่สองของฮูฟู คณะของเขาก็หายสาบสูญไป
499 AD ฮุยเซิน (慧深, Hui Shen หรือ Hoei-sin) พระในพุทธศาสนาชาวจีน ได้เดินทางไปยังดินแดนที่เขาไม่รู้จักมาก่อนในปีเขาได้เรียกดินแดนนี้ว่า เขาเรียกมันว่า ฟุซาง โดยบอกว่าตั้งอยู่ห่างจากประเทศจีนออกไป 20,000 ลี้
450 AD ฮุยเซิน เดินทางาจากกรุงคาบุล (Kabul) กลับมายังจีน
458 AD ฮุยเซิน ออกเดินทางโดยเรือสำเภาไปยังฟุซาง
เมื่อฮุยเซินเดินทางกลับมา เขาได้เขียนรายงานการเดินทางและนำขึ้นทูลเกล้าถวายแก่จักรพรรดิเหลียง (Liang emperor)
ต่อมาในศตวรรษที่ 7 บันทึกการเดินทางของฮุยเซิน ได้ถูกนำไปพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของ บันทึกราชวงศ์เหลียง (Book of Liang) โดย เยา สีเลียน (Yao Silian)
1761 นักประวัติศาสตร์จีนศึกษาชาวฝรั่งเศส โจเซฟ (Joseph de Guignes) ได้ประกาศว่า “เรือสำเภาของชาวจีนได้เดินทางไปเยือนทวีปอเมริกานานหลายศตวรรษก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) จะเดินทางไปถึง ซึ่งต่อมาแนวคิดของโจเซฟได้รับการสนับสนุนจากฟิลิปเป้ บัวเช่ (Philippe Buache)